11/2/52

บทความสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน

สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว : สื่อนี้เพื่อใคร?
เพื่อการเรียนรู้ให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง พัฒนาสู่การปฏิบัติการจริงในสังคม
เป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศ และระดับนานาชาติมานานกว่าทศวรรษ ว่าสื่อมีอิทธิพลอย่างสูง ต่อการสร้างทัศนคติ อัตลักษณ์ และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้รับสื่อ แต่สัดส่วนเนื้อหา และรูปแบบรายการที่นำเสนอผ่านสื่อ มีมิติที่ไม่อาจส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้รับสื่อไปสู่คุณลักษณะในเชิงบวกนั้นสูงมาก ปัญหาใหญ่หลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ทั้งปัญหาการพัฒนาเด็กและเยาวชน ปัญหาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน รวมทั้งความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำ ล้วนแต่ถูกจุดประกายมาจากสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมเกือบทั้งสิ้น จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ เด็ก เยาวชน ครอบครัว นักวิชาการ และภาคนโยบายรัฐ เข้าเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริงในสังคม
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2586 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อการดึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเพื่อร่วมกัน “สร้าง” พื้นที่สื่อที่เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ก่อให้เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ มีกิจกรรมเกิดขึ้นหลากหลาย เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในด้านของการจัดสื่อเพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งยังเกิดกิจกรรมที่สร้างความเข้าใจในเรื่องสื่อให้แก่ภาคผู้ผลิต และภาคประชาสังคมขึ้นอีกด้วย
และในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้เกิด “ สื่อสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ” ขึ้นอย่างยั่งยืน โดยมีการขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย คือ
1. การส่งเสริมให้เกิดมาตรการ การจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ ( Rating )
2.การผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของการเรื่องของสื่อ ทั้ง ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ , ร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ , ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม , ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
3.การผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อ
4.การสร้างหลักสูตร “สื่อมวลชนศึกษา” ให้เกิดขึ้นทั้งในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษาแม้รัฐบาลชุดนี้จะประกาศงานวาระด้านเด็กและเยาวชน โดยมี วาระของ “ สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ” ร่วมอยู่ด้วย และก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงชัดเจน ทั้งเรื่องของการจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ การควบคุมโฆษณาขนมเด็กและแอลกอฮอล์ และเกิดสถานีวิทยุต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัวแล้ว แต่ก็ยังมีภารกิจอีกหลายด้าน ที่ยังต้องติดต่อและผลักดันให้เกิดผลในเชิงโครงสร้าง และมีการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงในสังคมอีก สามเรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน นั่นคือ
1. การผลักดันร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวของกับสื่อทั้งระบบ
ในขณะนี้มีร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสื่อหลายฉบับที่เมื่อมีการประกาศใช้แล้วจะก่อให้เกิด “ พื้นที่สื่อ ” ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้รับชม เนื่องจากจะเกิดการจัดการสื่อที่มีความเหมาะสมหลากหลาย เข้าถึงกับพลเมืองทุกกลุ่มในสังคม โดยมีแกนหลัก คือ ร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย , ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ และ ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพราะเมื่อเกิด พื้นที่ หรือ ช่องทางที่เป็นสาธารณะแล้ว จะเป็นหลักประกันได้อย่างยิ่งว่าพลเมืองทุกกลุ่มในสังคมจะได้รับบริการข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ต่างๆ ที่มีความเหมาะสม รอบด้าน หลากหลาย และเข้าถึงง่าย โดยขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติต่างๆ บางฉบับก็ได้รับการพิจารณาแล้วในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ร่างพระราชบัญญัติเหล่านี้ จะสามารถผ่านการพิจารณาและประกาศใช้ได้หรือไม่
2. การจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯสำหรับการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯ มีความพยายามที่จะผลักดัน ให้จัดตั้งขึ้น เนื่องจากต้องการให้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาและสร้างสรรค์สื่อ ทั้งในมิติของการสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อย เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหารายการได้ในกรณีที่มีทุนไม่เพียงพอ มิติของการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อในด้านต่างๆ เพื่อให้ความรู้ต่อสังคมและเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนารายการ มิติของการสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สู่เด็ก เยาวชน โรงเรียน และภาคประชาสังคม และมิติสุดท้าย คือมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในพื้นที่สื่อ เพื่อเป็นกลไกในการเฝ้าระวังเนื้อหารายหารที่ไม่เหมาะสม และเป็นฐานข้อมูลสำคัญจากด้านผู้รับชมในการพัฒนาเนื้อหารายการที่เหมาะสมต่อไป แม้ว่าจะมีการผลักดันมาอย่างต่อเนื่องจากภาคผู้ผลิตและภาคประชาชน แต่ตอนนี้การจัดตั้งกองทุนฯ ก็ยังไม่สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
3. การนำหลักสูตร “สื่อมวลชนศึกษา” ไปใช้ทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา
หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้มีนักวิชาการทางด้านสื่อสารมวลชนได้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถ
นำไปทั้งในระบบการศึกษาภายในโรงเรียน และการศึกษาภายนอกโรงเรียน มีความพยายามผลักดันผ่านกระทรวงศึกษาธิการมาหลายปี แต่หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ยังไม่ถูกนำไปใช้ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน หากจะมองให้ลึกลงไป ภายใต้หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษานี้ จะสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจ และเท่าทันสื่อ ทำให้เกิดการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และสังเคราะห์สื่อได้ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่สุด ที่จะสร้างเด็ก และเยาวชน ให้มีภูมิคุ้มกันทางความคิด และสามารถรับสื่อได้อย่างมีวิจารณญาณ เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของผลกระทบจากสื่อต่อเด็กได้ต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมที่สุด แต่อาจจะเห็นผลทางสังคมช้า เพราะการให้การศึกษาและพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลา
ทางเครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัวเห็นตรงกันที่จะเสนอแนวทางในการสร้างสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว เพื่อสร้างกลไกในการสนับสนุนให้นโยบายสื่อสร้างสรรค์ เป็นนโยบายที่สามารถปฏิบัติได้ผลจริงและยั่งยืนไว้ทั้งหมด 3 คือ
1. รัฐควรใช้สื่อของรัฐเองทั้งสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และ สถานีโทรทัศน์ TITV ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ในกำกับของรัฐ เป็นสถานีโทรทัศน์ต้นแบบที่นำเสนอรายการสร้างสรรค์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งอาจจะใช้กลไกของ ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับสื่อในฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนผ่านในเชิงโครงสร้าง สู่การเป็นสถานีที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ เหมาะสมกับพลเมืองทุกวัย ทุกกลุ่มในสังคม
2. รัฐควรสนับสนุนให้เกิดช่องทางการเผยแพร่รายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมทั้งผลักดันให้มีการกำหนดช่วงเวลาของผังรายการโทรทัศน์และการความคุมความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ อย่างชัดเจน
3. รัฐควรและผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ซึ่งกองทุนสื่อสร้างสรรค์มี ๔ ภารกิจสำคัญคือ
1. สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งนี้ โดยการจัดตั้งสถานีขึ้นใหม่ หรือ การพัฒนาสถานีของรัฐที่มีอยู่ให้เป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวโดยเฉพาะ
2. สนับสนุนให้เกิดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้มีจำนวนมากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น
3. สนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาสื่อ ในรูปของสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อทำให้เกิดข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการผลิตสื่อสร้างสรรค์ นอกจากนั้นแล้ว กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ยังต้องเป็นหน่วยฝึกอบรมให้กับผู้ผลิตทั้งรายเก่า และรายใหม่เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อความรู้ทางการวิจัย การผลิต ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและครอบครัว ทั้งในระดับการเฝ้าระวังสื่อ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการติดตามเฝ้าดูสื่ออย่างใกล้ชิดและระดับของการผลิตสื่อ เพื่อทำให้รายการโทรทัศน์เกิดความหลากหลาย และ การให้เด็ก เยาวชนและครอบครัวในแต่ละพื้นที่มีโอกาสในการผลิตสื่อจะทำให้เกิดสื่อที่ตรงกับความต้องการของชุมชนแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับว่ากองทุนฯ เป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับส่งเสริมกลไก
4. รัฐบาลควรผลักดันให้เกิด “หลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา” ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อให้เด็ก เยาวชนสามารถในการวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ สังเคราะห์ รวมทั้งประเมินค่าสื่อที่รับชม มีความสามารถในการเข้าถึงสื่อที่เป็นประโยชน์ พัฒนาตนเองเป็นผู้สื่อสาร ที่สามารถใช้สื่อชนิดต่าง ๆ เพื่อการสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพื้นฐานจากการศึกษากระบวนการแบบมีส่วนร่วม
ที่มา : ข้อมูลจาก : แผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน

4/2/52

การทำแยมมะเขือเทศเพื่อสุขภาพ





การทำแยมมะเขือเทศเพื่อสุขภาพ



วัสดุ/อุปกรณ์
1.มะเขือเทศ
2.ผงเจลาติน
3.น้ำผึ้งหรือน้ำตาล
4.กระทะ
5.ทัพพี/ไม้พาย




วิธีการทำ

1.ขั้นตอนการเตรียมมะเขือเทศ
1.1 ล้างลูกมะเขือเทศให้สะอาด
1.2 ปลอกเปลือกมะเขือเทศ
1.3 คว้านเม็ดมะเขือเทศออกให้หมด
1.4 สับหรือบดมะเขือที่ปลอกไว้

2.ขั้นตอนการผสมส่วนผสม
2.1 ตั้งกะทะด้วยไฟอ่อน
2.2 ใส่มะเขือเทศที่ได้ลงไปในกระทะ
2.3 ใส่น้ำตาลหรือน้ำผึ้งและผงเจลาตินลงไป
2.4 กวนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน จนส่วนผสมทั้งหมดสุกจะมีลักษณะเป็นเนื้อใสๆ เมื่อได้แล้วให้ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วบรรจุใส่ขวดโหล เก็บไว้ในตู้เย็น







ขั้นตอนการทำแยมมะเขือเทศเพื่อสุขภาพแบบวิธีระบบ


ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการทำแยมมะเขือเทศ

Input
- เอกสาร / หนังสือที่เกี่ยวกับการทำแยมมะเขือเทศ / ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ในเรื่องการทำแยม/ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

Process
- การอ่านจากหนังสือ
- สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต
- สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญผู้ที่มีความรู้
Output
- มีความรู้เกี่ยวกับการทำแยมมะเขือเทศ
- รู้จักวัสดุอุปกรณ์ในการทำแยมมะเขือเทศ
- รู้วิธีการทำแยมมะเขือเทศ
Feedback
ได้แยมมะเขือเทศที่มีรสชาติอร่อย


วัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน
1. เพื่อศึกษาระบบการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนอย่างมีระบบ ได้แก่ ต้องมีตัวป้อน(Input) คือ คู่มือในการทำและอุปกรณ์ในการทำ มีกระบวนการทำงาน(Process) คือขั้นตอนในการทำงาน มีผลผลิต(Output) คือ แยมมะเขือเทศที่ได้จากการทำด้วยฝีมือของเราเอง และมีข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) คือ ผลที่ได้จากการทำแยมมะเขือเทศ
2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานโดยการประยุกต์ใช้วิธีระบบ

ความรู้ที่ได้รับจากการนำวิธีระบบมาใช้ในการทำแยมมะเขือเทศ
1. ได้รับความรู้ในการวางแผนปฏิบัติงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการหาตัวป้อน (Input) คือ คู่มือในการทำและอุปกรณ์ในการทำ มีกระบวนการทำงาน (Process) คือขั้นตอนในการทำงาน มีผลผลิต(Output) คือแยมมะเขือเทศที่ได้จากการทำด้วยฝีมือของเราเอง และมีข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) คือ ผลที่ได้จากการทำแยมมะเขือเทศ
2. ได้เรียนรู้การทำงานในแต่ละขั้นตอนด้วยกรปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ทำให้ทราบปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาด้วยการศึกษาจากคู่มือ ผู้รู้และค้นพบด้วยตนเอง
3. ได้เรียนรู้การทำงานและการแบ่งเวลาเพื่อการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์
4. ได้ชื่นชมและมีความภูมิใจกับผลงานของตนเอง
5. ได้เรียนรู้การทำแยมมะเขือเทศและรู้เทคนิคในการเลือกมะเขือเทศ
6. ได้เผยแพร่และบอกขั้นตอนในการทำแยมมะเขือเทศให้ผู้สนใจได้ทราบ
7. มีผลงานคือแยมมะเขือเทศที่ทำด้วยตนเอง สามารถรับประทานได้






6/12/51

วิธีระบบ

วิธีระบบ ( System Approach)

ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น

ระบบ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ 

1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
    องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ



วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ


ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา 
     อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน

องค์ประกอบของระบบ
 ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 



1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) 
    หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่นในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น

2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) 
     หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น

3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) 
    หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 
    หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น 

    ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )

การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
 1. ปัญหา (Identify Problem)
 2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
4. ทางเลือก (Alternatives)
5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
7. การประเมินผล (Evaluation)
8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)
 
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา
        ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด
        มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง
        ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว
        และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง
        และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
        การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน
        ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้
        ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด
        ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7
        ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์
        หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ
        หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

ลักษณะของระบบที่ดี
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency)
และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ 

1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )

ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบ ๆตัว ของระบบ โลกรอบ ๆตัวนี้ เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เอง ทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น ระบบเปิด ( Open system ) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต ( output )
แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น
ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า
 "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)

ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอ
การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
ของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์
ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอก อาหาร
กระเพาะอาหาร ฯลฯ 

มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )
ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม) 
อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างานก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้นโดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด

ระบบเปิดและระบบปิด
  ระบบเปิด ( Open System ) 
     คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต  กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ

   ระบบปิด ( Close System ) 
     คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย 
หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว
ภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้
     โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด 
 เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น

 

 


วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน

ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. การประเมินความจำเป็น
  2. การเลือกทางแก้ปัญหา
  3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
  4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
  5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
  6. การลำดับขั้นตอนของการสอน
  7. การเลือกสื่อ
  8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
  9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก

ระบบการเรียนการสอน 
ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน
เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้ 

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน 
ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญคือ
กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน 
ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 
โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน คือ

1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน
วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา
2. กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น
3. ผู้สอนต้องหาแนวทาง แนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจ
ให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ
เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน
ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต ดังภาพ



ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ 
คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้สอน หรือครู 
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ 
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ
ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ

 


ผู้เรียน 
ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอน
ซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น 
ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียน
ทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ

หลักสูตร 
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ

- วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 
- เนื้อหาสาระที่เรียน 
- กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) และ
- การประเมินผล

สิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น 
ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสดงสว่าง ฯลฯ

 

กระบวนการ ( Process ) 
ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อน
เป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอน
อาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน
การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริม
การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้
ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน 
ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว 
จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ 
ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้น
จึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้
นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที 
และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม

การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆวิธี
การใช้กิจกรรมเสริม วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไป
ผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด 
การให้การเสริมแรง การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น

 

ผลผลิต ( Output ) 
ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ 
สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน
ไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน 
-พุทธิพิสัย ( Cognitive ) 
-จิตพิสัย ( Affective ) และ
-ทักษะพิสัย ( Psychomotor ) 

การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ 
ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผล
เป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง

 

 

ที่มา :

กิดานันท์ มลิทอง.(2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์.
ฉลอง ทับศรี. (2542). การออกแบบการเรียนการสอนวิชา การออกแบบการเรียนการสอน (423511). 
              มหาวิทยาลัยบูรพา. เอกสารการสอน
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.

 

 

 

29/10/51

ประวัติส่วนตัว
ชื่อนางสาวกรกมล เพชรพล ชื่อเล่น เจน
การศึกษา ปริญญาตรี 5 ปี เอกการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
ความสนใจ การสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ